กรดไหลย้อน อาการหนักเป็นสัญญาณเตือนโรคใด

 

กรดไหลย้อน อาการหนัก

กรดไหลย้อน (GERD) เกิดจากกรดและสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวกว่าปกติ ทำให้เกิดการระคายเคืองในหลอดอาหาร

อาการที่พบบ่อย

  • แสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก มักเป็นหลังกินอาหาร โดยเฉพาะมื้อใหญ่ๆ และพบบ่อยช่วงกลางคืน
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • กลืนลำบาก หรือ จุกคอ
  • รู้สึกมีอาหาร หรือ กรดเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาในลำคอ

ภาวะที่ทำให้กรดไหลย้อนเป็นมากขึ้น

  • น้ำหนักเกิน หรือ ภาวะอ้วน เกิดจากแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
  • ระหว่างตั้งครรภ์
  • กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าผิดปกติ
  • โรคบางอย่าง เช่น scleroderma ทำให้การบีบตัวของหลอดอาหารน้อยลง

ปัจจัยที่กระตุ้นภาวะกรดไหลย้อน

  • สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์
  • กินอาหารมื้อใหญ่ หรือ กินตอนกลางคืน
  • ชา กาแฟ อาหารทอด อาหารมัน
  • ยาบางอย่าง เช่น aspirin, calcium channel blocker, antihistamine, ยานอนหลับ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากกระตุ้นภาวะกรดไหลย้อน

  • อาหารมัน และ อาหารรสจัด
  • ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • Chocolate, peppermint

ภาวะแทรกซ้อน

  • หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis)
  • หลอดอาหารตีบ (Esophageal stricture) เกิดจากการอักเสบเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการกลืนลำบาก
  • Barrett’s esophagus เกิดจากเซลล์เยื่อบุในหลอดอาหารมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารในอนาคต
  • ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ เช่น เสียงแหบ หอบหืด กล่องเสียงอักเสบ ปอดบวม

การวินิจฉัย

  • EGD โดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและอาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อมาตรวจถ้ามีสิ่งผิดปกติ
  • Upper GI series โดยการเอ็กซเรย์ดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
  • Esophageal manometry ดูการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร และวัดการบีบตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย
  • Esophageal pH and impedance monitoring เป็นการวัดระดับความเป็นกรดในหลอดอาหารในช่วงระหว่างทานอาหาร หรือ ตอนนอน
  • Bravo wireless esophageal pH monitoring โดยการติดแคปซูลขนาดเล็กไว้ที่หลอดอาหาร และวัดค่าความเป็นกรดในระยะเวลา 48 ชม

ความคิดเห็น